ลิงด์ด้านล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=TwnHIhs_j2Q
วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ความสำคัญของพัดลมระบายอากาศในปัจจุบัน
ความสำคัญของพัดลมระบายอากาศในปัจจุบัน
ในปัจจุบันเป้นเรื่องจริงเลยว่าอากาศร้อนขึ้นมากจากแต่ก่อน และควันรถมลพิษที่เกิดในปัจจุบันซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต้องพบเจอในสิ่งเหล่านี้แล้วจะมีอะไรช่วยคุณได้ละ
เมื่อเวลาคุณถึบ้าน
ก่อนที่จะพูดถึงพัดลมระบายอากาศ
เราลองมาทำความรู้จักกับพัดลมตัวนี้สักหน่อยจะดีกว่าพัดลมระบายอากาศในที่นี้หมายถึง
พัดลมที่มีใบพัดตั้งแต่ 3 ใบขึ้นไป ใช้มอเตอร์หมุนโดยตรง
ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 250 โวลต์ ความถี่กำหนด ไม่เกิน 50 เฮิรตซ์ ติดไว้เพื่อจุดประสงค์ในการระบายอากาศ
เช่น ที่ผนังห้อง เพดาน ฯลฯ การใช้งานเฉพาะภายในอาคาร
หรือสถานที่อื่นโดยมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน
ในการระบายอากาศเสียภายในห้องออกสู่ภายนอกห้อง
หรือการระบายอากาศดีจากภายนอกห้องเข้ามาภายในห้องภาวะอากาศที่ทำให้คนเรา รู้สึกสบายกาย
ไม่อึดอัด เมื่ออยู่ภายในห้องที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ23 – 25 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ประมาณร้อยละ55อย่างไรก็ดีการทำงานในห้องที่ปิดทึบไม่มี
การระบายอากาศเลยเป็นสิ่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ห้องเหล่านี้ เช่น ห้องพัก
ห้องสำนักงาน ห้องอาหารห้องน้ำ ห้องเรียน อาคารจอดรถ ตลอดจน
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ถึงแม้ว่าจะมีระบบปรับอากาศให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการแล้วก็ตาม
กิจกรรมที่เกิดอยู่ภายในห้องนั้นอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศขึ้น
ได้จึงควรมีระบบระบายอากาศอย่างพอเพียงเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ทำงานใน ห้องนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จะยิ่งมีแหล่งกำเนิดมลพิษต่าง ๆ
ได้มากมาย ที่อาจเกิดการสะสมของสารปนเปื้อนในอากาศจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของ
ผู้ใช้ห้องได้
จะเห็นว่า
พัดลมระบายอากาศมีประโยชน์มากมายเลยทีเดียวประโยชน์ของพัดลมระบายอากาศยังไม่หมดแค่นี้
เพราะ พัดลมระบายอากาสนี้จะทำให้ห้องแอร์ของคุณ มีอากาศที่มีออกซิเจนมากยิ่งขึ้น ภายในห้อง 4 เหลี่ยม มีอากาศเย็นๆ
แต่ๆไม่มีช่องอะไรเลยเพื่อนๆคิดว่า ถ้าอยู่แล้วมันจะรู้สึกยังไงหรอ
คงจะอึดอัดน่าดู แต่พัดลมระบายอากาศนี้และครับที่สามารถช่วยคุณได้
พัดลมระบายอากาศจะเปลี่ยนถ่ายอากาศหรือระบายอากาศด้วยแรงกล
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประเภทของพัด
ประเภทของพัดลม
พัดลมในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายประเภท เราก็ต้องรู้ว่าพัดลมมีกี่ประเภทเพื่อที่จะได้เลือกซื้อและสรรหาให้ตรงกับ ความต้องการของเรา
1. พัดลมติดเพดาน หรือเรียกย่อๆว่า พัดลมเพดาน มีลักษณะที่เป็นใบพัดทรงคอปเตอร์ไม้ไผ่ และที่เป็นลวดลายต่างๆ เช่น ลายใบไม้ พัดลมแบบนี้มีหลายขนาดให้เลือกใช้ค่ะ
2. พัดลมโคจร เป็นพัดลมติดเพดานอีกประเภทหนึ่ง มีรูปทรงเหมือนพัดลมข้างฝา สามารถหมุนได้ 360 องศา และบางรุ่นสามารถเลือกองศาหรือเลือกหยุดหมุนให้อยู่กับที่ได้ (เช่น พัดลมโคจรลัคกี้มิตซู) ซึ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้มากขึ้น
3. พัดลมติดผนัง หรือ พัดลมข้างฝา เป็นพัดลมที่เหมาะกับสถานที่ที่ไม่เหมาะกับการติดพัดลมเพดานค่ะ อาทิ ห้องที่ตีฝ้าเพดานลงมาต่ำ
4.พัดลมตั้งโต๊ะ ก็จะเป็นพัดลมขนาดเล็กที่สามารถวางบนพื้นหรือบนชั้นวางค่ะ
5.พัดลมตั้งพื้น พัดลมตั้งพื้นจะมีขนาดใหญ่กว่าพัดลมตั้งโต๊ะ ลำตัวเครื่องจะยาวกว่า และในบางรุ่นก็สามารถยืดหดลำตัวได้
6.พัดลมอุตสาหกรรม และพัดลมสามขา พัดลมรุ่นนี้นั้นมีใบพัดขนาดใหญ่ ลำเครื่องใหญ่ สามารถใช้ได้ทั้งในและนอกอาคาร รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย โดยมีทั้งแบบตั้งพื้นและติดข้างฝา
7.พัดลมดูดอากาศ ระบายอากาศ และฝังฝ้าเพดานห้องน้ำ ก็อย่างที่ชื่อบอกค่ะ คือมีไว้เพื่อระบายอากาศภายในห้อง สามารถใช้ได้กับทุกห้องค่ะ ยกเว้นฝังฝ้าเพดานห้องน้ำที่เหมาะสำหรับการใช้ในห้องน้ำค่ะ
วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ประวัติความเป็นมาของ พัดลมไฟฟ้า
พัดลมไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
นอกจากจะช่วยคลายความร้อนจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวแล้ว
หลักการของพัดลมไฟฟ้ายังเป็นส่วนหนึ่งของระบบระบายความร้อน ที่ถูกใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
จนถึงระบบระบบความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
พัดลมไฟฟ้าเครื่องแรกของโลกเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์ของ ชอยเลอร์ วีลเลอร์
วิศวกรชาวอเมริกัน ที่จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยก่อนการประดิษฐ์พัดลมไฟฟ้า วีลเลอร์ ในวัย21ปี เริ่มต้นทำงานเป็นผู้ช่วยช่างไฟฟ้าที่บริษัท
จาบลอชคอฟฟ์ และมีโอกาสร่วมงานเป็นวิศวกรกับ โทมัส เอดิสัน
เพื่อวางระบบไฟฟ้าใต้ดิน ก่อนที่เขาจะออกมาร่วมงานกับบริษัท ซีแอนด์ซี
มอเตอร์ไฟฟ้า ที่นี่ถือได้ว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก
และนำไปสู่การผลิตพัดลมไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรงและพัฒนารูปแบบมาใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ในปี พ.ศ.2431 วีลเลอร์
ร่วมกับฟรานซิส คร๊อคเกอร์ ก่อตั้งบริษัท คร๊อคเกอร์แอนด์ วีลเลอร์ มอเตอร์
และขยายกิจการอุตสาหกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ จนใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)